ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็ปไซต์ถูกเก็บในรูปแบบของคุกกี้ กรุณา
รับทราบ
และอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
Support@mail.com
+01 1800 453 7678
Login
Sign Up
Toggle navigation
MainPage
Lanna Architecture Center
History
Object and Goals
The architecture of Khum Jao Burirat Maha In
Building Restoration
Virtual Museum
Award
Team
Dig 01
Data Center of Lanna Architecture
Lanna Architecture center
Research
Book
Exhibition
Salarr Information
Contact Us
Khum Museum E-Magazine
Issue 01
TH
|
EN
รูปแบบสถาปัตยกรรม
อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างลักษณะพื้นถิ่นและอิทธิพลตะวันตกอย่างลงตัว เป็นอาคารสองชั้น หลังคาทรงมะนิลา มีระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่สร้างในเมืองเชียงใหม่ยุคแรก อีกทั้งยังแสดงออกถึงอิทธิพลของการก่ออิฐ การแปรรูปไม้
เทคนิคการเข้าไม้ที่เข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของเมืองเชียงใหม่ช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ตัวอาคารเป็นเรือนครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น บันไดอยู่ด้านนอก ชั้นล่างก่ออิฐหนาเป็นรูปโค้ง (Arch) ฉาบปูนเป็นระเบียงโดยรอบ ชั้นบนเป็นพื้นไม้สักมีระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วและหลังคาปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องดินขอคลุมระเบียงโดยรอบ ปัจจุบันตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี แสดงถึงวิทยาการการก่อสร้างที่แข็งแรงคงทนในอดีต อย่างไรก็ตามทางคณะฯ เห็นว่าต้องมีการซ่อมแซมเพื่อให้อาคารมีความคงทนถาวรและพร้อมที่จะใช้งานต่อไป
โดยในขณะนี้คณะฯ ได้เริ่มจัดทำแผนการอนุรักษ์แบบการสงวนรักษา (Preservation)
แบบแปลนอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน 84 ตารางวา ภายในก่ออิฐหนาสูงประมาณ 1.80 เมตร โดยรอบทั้งสี่ด้าน อาคารสองชั้นมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ประสมประสานระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันออกและล้านนา แปลนเป็นลักษณะศอกคู้ (รูปตัวL) ชั้นล่างมี 3 ห้อง ชั้นบนมี 3 ห้อง บันไดอยู่นอกอาคารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในส่วนชั้นล่างเป็นรูปแบบผสมของเรือนมะนิลากับสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ซึ่งแพร่หลายในประเทศอาณานิคม ชั้นบนเป็นเรือนเครื่องไม้แบบเชียงใหม่ที่ได้นำเทคนิควิธีเครื่องบนไม้และวัสดุพื้นเมือง (ดินขอ) มาใช้อย่างเหมาะเจาะลงตัว หลังคาจั่วและหลังคาปั้นหยาคลุมระเบียงโดยรอบ โครงสร้างเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมมหาอำนาจอังกฤษในเชียงใหม่ในยุคแรก แสดงถึงอิทธิพลทางการก่อสร้าง การก่ออิฐ การแปรรูปไม้ เทคนิคการเข้าไม้ โครงสร้างที่ใช้ช่างก่อสร้างได้รับการฝึกฝนจากชาวตะวันตก เข้ามาพร้อมการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ
โครงสร้างอาคาร
โครงสร้างพื้น
โครงสร้างพื้นชั้นล่างแต่เดิมสันนิษฐานเป็นดินและมีการเรียงพื้นด้วยอิฐ ต่อมามีการทำพื้นปูนซีเมนต์ ส่วนพื้นชั้นบนของอาคารประกอบด้วยโครงสร้างไม้ มีการวางโครงสร้างพื้นแบบเรือนล้านนา วางบนโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก พื้นไม้ชั้นบนเป็นไม้สัก วางตีชิดทั้งภายในอาคารและระเบียงรอบมีการวางไม้พื้นสองแนว ลักษณะไม้มีขนาดที่ไม่สม่ำเสมอ บอกถึงฝีมืองานช่างไม้ในสมัยนั้น ที่ยังไม่มีการเข้ามาของเครื่องจักรใหญ่ ยังใช้แรงงานโดยมือ
โครงสร้างเสาและผนังรับน้ำหนัก
โครงสร้างเสาและผนังรับน้ำหนักของอาคารได้รับอิทธิพลการก่อสร้างจากตะวันตกรูปแบบผนังรับน้ำหนักมีลักษณะก่อกำแพงหนา 40 เซนติเมตร ผนังภายนอกส่วนระเบียงทิศเหนือและทิศตะวันตก ตกแต่งด้วยการเจาะช่องโค้ง (Arch) แสดงถึงกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ผนังทิศใต้และทิศตะวันออกมีการตกแต่งทำให้เกิดจังหวะของเสาและกำแพง ขอบบนของผนังภายนอกตกแต่งด้วยบัวปูนปั้นรอบอาคาร
โครงสร้างผนัง
โครงสร้างผนัง ส่วนชั้นสองของอาคาร ประกอบด้วยโครงสร้างไม้ ลักษณะเป็นโครงเคร่าตั้ง เพื่อรับผนังแนวนอนรอบอาคาร และโครงเคร่านอน ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ผนังเป็นไม้สัก มีการตกแต่งขอบจากกบไส้ไม้และเข้าไม้ด้วยผนังบังใบ ทำให้ผนังเรียบเสมอหน้าไม้ แสดงให้เห็นถึงการเน้นรายละเอียดของการใช้วัสดุ ยกเว้นส่วนห้องเก็บของทิศใต้ของอาคารและห้องพระด้านทิศเหนือของอาคาร ที่ไม่มีการปิดผนังภายใน
โครงสร้างฝ้าเพดาน
โครงสร้างฝ้าเพดานของอาคาร ชั้นหนึ่งตีไม้ปิดโครงสร้างของพื้นชั้นสอง ตีปิดไม้สักแนวเดียว เช่นเดียวกันชั้นสอง แต่มีลักษณะโค้งขึ้นจากคอสองของผนังภายในอาคาร และห้องภายในทั้งหมด 3 ห้องชั้นสอง
โครงสร้างหลังคา
โครงสร้างหลังคาเป็นรูปแบบมะนิลาคลุมพื้นที่ไปยังระเบียงรอบ ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก คือการทแยงไม้รับน้ำหนักหลังคา (Truss) เพื่อลดการชนไม้ของโครงสร้าง ทำให้สามารถรับน้ำหนักที่ดีกว่า กระเบื้องที่ใช้แต่เดิมเป็นกระเบื้องดินขอ วัสดุหลังคาท้องถิ่น มีลักษณะเล็กและเบา
ระเบียงรอบ
ระเบียงรอบที่แสดงถึง "สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม" หรือ "Colony Architecture" แสดงถึงการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตกในช่วงการค้าไม้ภายในล้านนา ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือ ด้านหน้าของอาคารที่เป็นช่องโค้ง (Arch) ต่อเนื่องกันเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดการเดินเท้า ที่ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า "อาเขต" (Arcade) หรือภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า "หง่อคาขี่" หมายถึงทางเดินกว้างห้าฟุต ซุ้มโค้งมีการตกแต่งที่เรียบง่ายในส่วนของเสา ส่วนโค้ง และราวระเบียงไขว้
ลายฉลุ
ลายไม้ฉลุระเบียงรอบอาคาร ฉลุลวดลายกลีบดอก เป็นลวดลายที่เห็นได้ทั่วไปของบ้านเรือนในพื้นถิ่นล้านนาสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีลายฉลุซุ้มโค้งระเบียงชั้นสอง ซึ่งเรียกว่า "ลายดอกประจำยามราชวัตร" ซึ่งเห็นได้จากภายในตัวเรือนรูปแบบการฉลุไม้เป็นลักษณะงานเครื่องมือช่างในสมัยก่อน
ประตูและหน้าต่าง
ประตูลูกฟักบานเปิดคู่ ตกแต่งส่วนบนเป็นบานเกร็ดที่เกิดจากการใช้เครื่องมือช่างในสมัยโบราณ ไสไม้ให้เป็นบานเกร็ด และเข้าไม้ด้วยบังใบ เป็นลักษณะเด่นของประตูที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก ส่วนหน้าต่างเป็นบาดเปิดคู่ ภายในกั้นด้วยลูกกรงสายบัวเหล็ก ส่วนประกอบของประตูและหน้าต่าง เช่น ตัวกลอนยาว มือจับ ของเดิมยังหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ส่วนห้องชั้นสองมีการติดตั้งบานกระจกพลิก (ฝ้าขุ่น) สามารถพลิกได้ 180 องศา ไม่ค่อยพบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเข้ามาช่วงใด
บ่อน้ำ
ส่วนประกอบอื่นในพื้นที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ยังมีบ่อน้ำสองจุด คือ บริเวณทิศเหนือเดิมเป็นบ่อน้ำทรงกลม เนื่องจากความทรุดโทรม จึงปรับปรุงเป็นสี่เหลี่ยม และส่วนบริเวณทิศใต้ยังคงสภาพเดิม นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของกำแพงอิฐก่อขึ้นมา สันนิษฐานว่าเป็น "ต๊อม" คือพื้นที่ใช้อาบน้ำของชาวพื้นเมืองล้านนา สันนิษฐานว่ามีลักษณะเป็นการก่ออิฐสูงขึ้นมาเพื่อบดบังทัศนวิสัย