เรือนกาแล (พญาวงศ์)

  • ประวัติ
  • เรือนพญาวงศ์ เป็นชื่อที่ได้มาจากเจ้าของเรือนคือ พญาวงศ์ นายแคว่นหรือกำนันแห่งบ้านสบทา แขวงปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เรือนหลังนี้ปลูกสร้างโดยลูกเขยของพญาวงศ์ ชื่อว่า พญาอุด ซึ่งเป็นนายแคว่นบ้านริมปิง ได้สร้างเรือนหลังนี้ให้กับพญาวงศ์เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 เมื่อพญาวงศ์เสียชีวิตลงก็ไม่มีผู้สืบทอดหรืออาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ต่อ จนกระทั่ง พระครูเวฬุวันพิทักษ์ (เขื่อนคำ อตฺตสนฺโต) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้าและเจ้าคณะอำเภอป่าซางในขณะนั้น ได้พบเห็น จึงได้ติดต่อขอซื้อเรือนแล้วทำการรื้อย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่วัดสุวรรณวิหาร บ้านแม่อาว ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งท่านก็เป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ด้วยอีกแห่งหนึ่ง จากนั้น นายแฮรี่ วอง ชาวสิงค์โปร์ได้ซื้อไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2541 มูลนิธิ ดร.วินิจ–คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค ได้สนับสนุนการรื้อถอนและมอบเรือนหลังนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พัฒนาการ
  • เดิมทีช่างได้สร้างเรือนพญาวงศ์ด้วยวิธีการเข้าลิ่มตอกสลักอย่างดีแทบไม่ปรากฏรอยตะปู อันเป็นความสามารถเชิงช่างในอดีต แต่ปัจจุบันผลจากการรื้อย้ายและการซ่อมแซมทำให้ปรากฏรอยตะปูให้เห็นบ้าง ยกเว้นบางส่วนที่ยังคงสภาพดี จากรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือนพญาวงศ์ จึงถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของเรือนกาแลล้านนาที่สมบูรณ์หลังหนึ่ง ที่ควรค่าแก่การศึกษาทั้งในด้านเทคนิคการสร้างและพื้นที่ใช้สอยภายในเรือน
  • ข้อมูลทางสถาปัตยกรรม
  • เรือนพญาวงศ์ เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงมุงด้วย “ดินขอ” หลังคาทรงจั่วแฝด หรือ “สองหลังร่วมพื้น” ยอดจั่วมี “กาแล” เป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากป้านลมวางไขว้กันอยู่ จึงทำให้มีชื่อเรียกว่า “เรือนกาแล” ซึ่งเป็นเรือนล้านนาดั้งเดิมที่นิยมทำในช่วงประมาณ 100 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ฝาเรือนพญาวงศ์ก็เป็นแบบล้านนาโบราณที่ทำเป็นฝาผายออกเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาที่ป้านและลาดต่ำ ลักษณะการแบ่งพื้นที่ใช้สอยประกอบด้วย 4 ส่วน คือ “ชาน” อยู่ด้านหน้าของเรือนพร้อมบันไดทางขึ้น เป็นส่วนที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม มีขนาดพื้นที่ 1 ใน 3 ของตัวเรือนทั้งหมด ถัดจากชานเป็น “เฮือนนอน” มีอยู่ 2 หลังคู่กัน โดยเรือนด้านตะวันออกจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือนด้านตะวันตกเล็กน้อย เพราะความเชื่อของชาวล้านนาจะไม่สร้างจั่วเรือนให้มีขนาดเท่ากัน ดังนั้นเจ้าของเรือนจึงอาศัยอยู่ในเรือนใหญ่ ส่วนเรือนเล็กก็มักจะจัดให้เป็นห้องของลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เหนือประตูห้องนอนมี “หัมยนต์” ติดอยู่ ด้านหน้าเรือนนอนทั้งสองคือ “เติ๋น” ทำเป็นพื้นที่เปิดโล่งให้เชื่อมต่อกับชาน แต่ยกพื้นขึ้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตรงกลางระหว่างเรือนแฝดมีทางเดินเชื่อมไปยังด้านหลังเรือน ซึ่งมี “เฮือนไฟ” เป็นเรือนขนาดเล็กวางแนวขวาง ทำด้วยฝาไม่ไผ่สานขัดกัน และมีบันไดทางขึ้นต่อจากชานหลังเรือน
    ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา https://art-culture.cmu.ac.th
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 2 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 2
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 3 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 3
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 1  : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 1
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 2 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 2
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 3 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 3
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 4 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 4
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 5 : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Vernadoc แบบที่ 5
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    ภาพถ่าย : เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    ภาพถ่าย
    เรือนกาแล (พญาวงศ์)
    Flag Counter