วัดเจดีย์เหลี่ยม

  • ประวัติ
  • วัดเจดีย์เหลี่ยมหรือวัดกู่คำหลวง เป็นวัดที่อยู่นอกเวียงกุมกาม หลักฐานในราชพงศาวดารได้กล่าวถึงวัดเจดีย์เหลี่ยมนี้ว่าเดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ คำว่า กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึงทองคำ พญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนาโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1831 ดังข้อความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพงศาวดารของโยนกได้มีข้อความที่ตรงกันดังนี้ “เจ้ามังรายหื้อไปเอาดินหนองต่างมาก่อเจดีย์กู่คำไว้ในเวียงกุมกาม หื้อเป็นที่บูชาแก่ชาวเมืองตังหลาย เมื่อจุลศักราช 650 พ.ศ.1831 ปีชวด สัมฤทธิศก” แปลได้คือพญามังรายทรงให้ขุดคูเมืองทั้ง 4 ด้าน ดินที่ได้จากการขุดนำมาทำเป็นอิฐประกอบกับศิลาแลงเพื่อก่อเจดีย์ ลักษณะเจดีย์เป็นเจดีย์กลวงรูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านในเจดีย์มีทางเข้าออกได้ประดับด้วยปูนปั้นลายพระพุทธรูปโดยประดับด้านละ 15 องค์ ในแต่ละด้านมีซุ้มพระชั้นละ 3 องค์ทั้งหมด 4 ชั้น รวมองค์พระพุทธรูป 60 องค์ วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐมเหสีพระองค์หนึ่ง
  • พัฒนาการ
  • พญามังรายทรงโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1831 ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยพญาตะก่า-หม่องปันโยในปี พ.ศ.2445 ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 41 วันที่ 14 เดือนมีนาคม พ.ศ.2523
  • ข้อมูลทางสถาปัตยกรรม
  • เจดีย์พระประธานเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบการก่อสร้างพุทธศาสนสถานแบบหริภุญไชยในระยะแรกๆของการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ลักษณะของเจดีย์เป็นเจดียทรงมณฑปสี่เหลี่ยมลด 5 ชั้น สร้างก่ออิฐฉาบด้วยปูนขาว ฐานล่างเป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยมใหญ่ ส่วนล่างก่อด้วยอิฐศิลาแลง ล้อมด้วยกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน มีประติมากรรมรูปสิงห์ประดับตามมุมทั้งสี่ด้านของฐาน คั่นด้วยซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางต่างๆ ทำซุ้มประประกอบด้านซ้ายและขวาตกแต่งกรอบและเสาของซุ้มด้วยลายพรรณพฤกษา ยอดซุ้มทำเป็นเจดีย์จำลองรูปสี่เหลี่ยมลดหลั่นลงมาเป็นชั้นทั้งหมด 3 ชั้น รองรับส่วนปลียอดลักษณะทรงบัวสี่เหลี่ยม ส่วนยอดประดับลายโลหะฉลุลายปิดทอง สันของหลังคามีเคร่องตกแต่งเป็นครีบปูนปั้นเป็นรูปใบไม้และดอกไม้ ในส่วนของมณฑปแต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปางยืนในอริยาบถต่างๆด้านละสามซุ้ม รวมทั้งหมด 60 ซุ้ม กรอบซุ้มประดับปูนปั้นลายพฤกษาเกี่ยวสอด และแบบพญานาค 2 ตัวหางพันกันสลับชั้นขึ้นไป เครื่องยอดขององค์เจดีย์เป็นบัวสี่เหลี่ยมสองตอน คั่นด้วยชั้นลูกแก้ว รองรับส่วนของปลีสี่เหลี่ยมที่ตกแต่งด้วยลายปูนปั้น และยอดฉัตรฉลุโลหะปิดทองไว้
  • ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    1.https://www.museumthailand.com/th/3828/storytelling
    2.https://www.cmhy.city/place/7550-Wat-Chediliem
    3.https://www.sac.or.th/databases/archaeology
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1 : วัดเจดีย์เหลี่ยม
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    Vernadoc  แบบที่ 1 : วัดเจดีย์เหลี่ยม
    Vernadoc แบบที่ 1
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    Vernadoc แบบที่ 2 : วัดเจดีย์เหลี่ยม
    Vernadoc แบบที่ 2
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    วัดเจดีย์เหลี่ยม : Vernadoc แบบที่ 3
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    Vernadoc แบบที่ 3
    ภาพถ่าย แบบที่ 1 : วัดเจดีย์เหลี่ยม
    ภาพถ่าย แบบที่ 1
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    ภาพถ่าย แบบที่ 2 : วัดเจดีย์เหลี่ยม
    ภาพถ่าย แบบที่ 2
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    ภาพถ่าย แบบที่ 3 : วัดเจดีย์เหลี่ยม
    ภาพถ่าย แบบที่ 3
    วัดเจดีย์เหลี่ยม
    Flag Counter