วัดพันเตา

  • ประวัติ
  • วัดพันเตาสร้างขึ้นเมื่อประมานพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นช่วงที่ร่วมสมัยกับวัดเจดีย์หลวง ตำนานของวัดพันเตามีอยู่หลากหลายตำนาน ซึ่งตำนานแรกกล่าวว่า บริเวณที่ตั้งของวัดพันเตาเป็นพื้นที่ของบ้านของเศรษฐี ชื่อว่า “พันเท้า” ต่อมาเจ้าแสนเมืองมาจึงได้ตั้งชื่อวัดขึ้นว่า “วัดพันเตา” หรือ “วัดปันเต้า” อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เดิมเป็นสถานที่ตั้งเส้าจำนวนพันเตาหลองทองหล่อพระพุทธรูปอัฎฐารส ซึ่งประดิษฐานในวิหารวัดเจดีย์หลวง เมื่อทำการหล่อพระเสร็จแล้ว ชาวเมืองจึงสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้นเรียกว่า “วัดพันเตา”
  • พัฒนาการ
  • - วัดพันเตาสร้างขึ้นร่วมสมัยกับวัดเจดีย์หลวง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 หรือเมื่อประมาณ 500 กว่าปีที่แล้ว
    - วิหารวัดพันเตาเดิมทีเคยเป็นหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 (พ.ศ. 2390 – 2397) อยู่ที่พระตำหนักเวียงแก้ว
    - ปี พ.ศ. 2419 เจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7) ทรงมีพระดำริว่า หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5) นั้นควรจะอยู่ในวัดมากกว่าอยู่ในวัง จึงได้ช่วยให้ช่างรื้อถอนหอคำแล้วย้ายมาปลูกสร้างใหม่ที่วัดพันเตา
  • ข้อมูลทางสถาปัตยกรรม
  • วิหารวัดพันเตา สถาปัตยกรรมวิหารวัดพันเตาเป็นศิลปะเชียงแสน สร้างจากไม้ เป็นโครงสร้างแบบกรอบยึดมุม ผนังมีแบบวิธีการสร้างคล้ายกับฝาปะกนของศิลปะอยุธยา มีประตูทางเข้า – ออก 3 ทาง ได้แก่ ประตูใหญ่ด้านหน้า ประตูด้านข้างทางทิศเหนือค่อนมาทางประตูหน้า และประตูทางทิศใต้ค่อนไปทางประตูหลัง ประตูด้านหน้าประกอบไปด้วยประตูไม้แกะสลักประดับระจกเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายบริเวณกรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งติ้วไม้สลักลายเป็นดอกไม้ ใบไม้ ส่วนบานประตูเป็นแผ่นไม้เรียบ เจดีย์องค์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม ล้อมด้วยเจดีย์ราย
    ที่มาของข้อมูล :
    1. เชียงใหม่นิวส์. (2561) “วัดพันเตา” จากคุ้มหลวงสู่วิหารไม้สัก. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/839204/
    2. Amazing THAILAND. (2564) วัดพันเตา. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นจาก https://thai.tourism thailand.org/Attraction/วัดพันเตา
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1 : วัดพันเตา
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1
    วัดพันเตา
    หุ่นจำลอง แบบที่ 2 : วัดพันเตา
    หุ่นจำลอง แบบที่ 2
    วัดพันเตา
    ภาพถ่าย แบบที่ 1 : วัดพันเตา
    ภาพถ่าย แบบที่ 1
    วัดพันเตา
    ภาพถ่าย แบบที่ 2 : วัดพันเตา
    ภาพถ่าย แบบที่ 2
    วัดพันเตา
    Flag Counter