• ประวัติ
  • อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489
    นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พัฒนาการ
  • เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างลักษณะพื้นถิ่นและอิทธิพลตะวันตกอย่างลงตัว เป็นอาคารสองชั้น หลังคาทรงมะนิลา มีระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่สร้างในเมืองเชียงใหม่ยุคแรก อีกทั้งยังแสดงออกถึงอิทธิพลของการก่ออิฐ การแปรรูปไม้
    เทคนิคการเข้าไม้ที่เข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของเมืองเชียงใหม่ช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ตัวอาคารเป็นเรือนครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น บันไดอยู่ด้านนอก ชั้นล่างก่ออิฐหนาเป็นรูปโค้ง (Arch) ฉาบปูนเป็นระเบียงโดยรอบ ชั้นบนเป็นพื้นไม้สักมีระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วและหลังคาปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องดินขอคลุมระเบียงโดยรอบ ปัจจุบันตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี แสดงถึงวิทยาการการก่อสร้างที่แข็งแรงคงทนในอดีต อย่างไรก็ตามทางคณะฯ เห็นว่าต้องมีการซ่อมแซมเพื่อให้อาคารมีความคงทนถาวรและพร้อมที่จะใช้งานต่อไป
    โดยในขณะนี้คณะฯ ได้เริ่มจัดทำแผนการอนุรักษ์แบบการสงวนรักษา (Preservation)
  • ข้อมูลทางสถาปัตยกรรม
  • อาคารสองชั้นครึ่งอิฐครึ่งไม้ ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน เสาระเบียงด้านนอกเป็นซุ้มโค้ง(Arch) แบบศิลปะคลาสสิก(Classical Art) โดยรอบอาคารมีการตกแต่งเป็นลวดลายด้วยการเซาะให้เป็นร่อง ส่วนหัวเสาและส่วนแนวโค้งระหว่างเสา ชั้นสองเป็นไม้สักมีการตกแต่งด้วยการฉลุลายไม้ด้วยเลื่อยฉลุ ส่วนระเบียงและแผงไม้โดยรอบ ส่วนหลังคาเป็นทรงมะนิลา (Gable-Hip Roof) ที่ผสมระหว่างหลังคาจั่วและปั้นหยาคลุมโดยรอบอาคาร
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 1
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 2 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 2
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 3 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 3
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 4 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 4
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 5 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    หุ่นจำลอง แบบที่ 5
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc  แบบที่ 1 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 1
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 2 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 2
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 3 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 3
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 4 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 4
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 5 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Vernadoc แบบที่ 5
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 1 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 1
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)



    ภาพถ่าย แบบที่ 2 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 2
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 3 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 3
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 4 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 4
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 5 : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    ภาพถ่าย แบบที่ 5
    คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
    Flag Counter